คู่มือการเลือกหุ่นยนต์หยิบจับและวางชิ้นงาน ผู้ช่วยต้นทุนต่ำที่ทำให้ธุรกิจเพิ่มผลผลิตได้

ถ้าคุณมีชิ้นส่วน ชิ้นงาน หรือสิ่งของที่คุณต้องการจัดเรียง ซ้อน หรือเรียงลำดับ หุ่นยนต์หยิบจับและวางชิ้นงาน (Pick & Place Robot) อาจเป็นคำตอบของคุณครับ

แต่มีอะไรบ้างที่คุณต้องรู้ ก่อนที่จะซื้อและเริ่มใช้งานหุ่นยนต์หยิบจับและวางชิ้นงาน

การหยิบจับและวาง เป็นลักษณะงานที่ได้รับความนิยม และใช้กันทั่วไปในวิทยาการหุ่นยนต์ในปัจจุบัน ไม่ว่าคุณจะขนย้ายกล่อง ชิ้นส่วน อะไหล่ จะใหญ่หรือเล็ก ก็มีหุ่นยนต์หยิบจับและวางชิ้นงานที่เป็นตัวเลือกให้คุณเยอะแยะไปหมด

ฟังแล้วก็ดูเหมือนจะดีใช่มั้ยครับ ที่มีตัวเลือกเยอะ แต่นั่นคือปัญหาครับ

เพราะในเมื่อตัวเลือกมากมาย แต่หุ่นยนต์หยิบจับและวางชิ้นงานแบบไหนล่ะที่เหมาะที่สุดสำหรับการใช้งานของคุณ

หากคุณกำลังมองหาข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกหุ่นยนต์หยิบจับและวางชิ้นงาน เนื้อหาในบทความนี้ คือคู่มือแนะนำจากเรา Techy ผู้ให้บริการโซลูชั่นเครื่องจักรอัตโนมัติแบบครบวงจรมากว่า 17 ปีครับ

หุ่นยนต์หยิบจับและวางชิ้นงานคืออะไร?

หุ่นยนต์หยิบจับและวางชิ้นงาน คือหุ่นยนต์ที่สามารถหยิบสิ่งของจากที่หนึ่งแล้ววางลงในที่อื่นได้ ใช้สำหรับงานที่หลากหลายในอุตสาหกรรมการผลิต และอุตสาหกรรมอื่น ๆ รวมถึงการคัดแยก ซ้อน เคลื่อนย้าย และบรรจุผลิตภัณฑ์

หุ่นยนต์หยิบจับและวางชิ้นงาน มักใช้ในสภาพแวดล้อมการผลิตที่ทันสมัย เป็นกระบวนการอัตโนมัติที่ช่วยเพิ่มอัตราการผลิต เพราะหุ่นยนต์หยิบจับและวางจะจัดการกับงานลักษณะเดิม ๆ ที่ต้องทำแบบซ้ำ ๆ ในขณะเดียวกันก็ให้คนงานที่เป็นมนุษย์มีสมาธิกับงานที่ซับซ้อนมากขึ้นครับ

หุ่นยนต์หยิบจับและวางชิ้นงานทำงานอย่างไร?

โดยปกติแล้ว จะติดตั้งบนขาตั้งที่มั่นคงในตำแหน่งที่จะเข้าถึงพื้นที่ทำงานได้ ในบางประเภทของการใช้งาน จะมีกล้องติดตั้งไว้ช่วยในการมองเห็นในการระบุ จับ (รวมถึงตรวจสอบ) และเคลื่อนย้ายวัตถุจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง

ด้วยตัวเลือกและดีไซน์ที่หลากหลาย หุ่นยนต์หยิบจับและวางชิ้นงาน สามารถรองรับการใช้งานกับเครื่องมือปลายแขน (End of Arm Tool) สำหรับการใช้งานที่แตกต่างกัน เช่น การประกอบ บรรจุภัณฑ์ หรือการหยิบของ เช่น อาจถูกใช้เพื่อหยิบสินค้าสำหรับบรรจุลงในกล่องบรรจุภัณฑ์ หรืออาจใช้เพื่อหยิบชิ้นส่วนที่จำเป็นสำหรับการประกอบ และเคลื่อนย้ายไปยังตำแหน่งถัดไป

หุ่นยนต์หยิบจับและวางชิ้นงาน มีกี่ประเภท

มีหลายประเภทเลยทีเดียวครับ ได้แก่

  • แขนกล – หุ่นยนต์หยิบจับและวางชิ้นงานประเภททั่วไป หุ่นยนต์แขนกลแบบ 5 แกนสามารถใช้สำหรับการใช้งานหยิบและวางมาตรฐาน โดยวัตถุจะถูกหยิบขึ้นมาและเคลื่อนย้ายไปยังตำแหน่งอื่นในระนาบเดียว ส่วนหุ่นยนต์แขนกล 6 แกนเหมาะสำหรับใช้สำหรับการใช้งานที่ซับซ้อนมากขึ้น เช่น เมื่อวัตถุต้องบิดหรือปรับทิศทางใหม่ก่อนที่จะวางในตำแหน่งอื่น
  • หุ่นยนต์ Scara (Selective Compliance Assembly Robot Arm) – มีลักษณะแกนที่ 1 (เอว) และแกนที่ 3 (ข้อศอก) หมุนรอบแกนแนวตั้ง และแกนที่ 2 จะเป็นลักษณะการเคลื่อนที่ขึ้นลง หุ่นยนต์ SCARA เคลื่อนที่ได้รวดเร็วในแนวระนาบ มีความแม่นยำสูง
  • หุ่นยนต์คาร์ทีเซียน – เช่นเดียวกับแขนหุ่นยนต์ 6 แกน หุ่นยนต์คาร์ทีเซียนทำงานในระนาบหลายระนาบ หุ่นยนต์เหล่านี้เคลื่อนที่ในแกนตั้งฉากสามแกน (X, Y และ Z) โดยใช้พิกัดคาร์ทีเซียน โดยทั่วไปแล้วจะมีความแม่นยำในการวางตำแหน่งที่ดีกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับแขนกลหุ่นยนต์แบบ 6 แกน
  • หุ่นยนต์เดลต้า – มักใช้ในประเภทงานที่หุ่นยนต์ต้องหยิบจับชิ้นส่วนที่อยู่ในกลุ่ม วางเป็นรูปแบบเพื่อการประกอบ หรือวางในคอนเทนเนอร์ หุ่นยนต์เดลต้ามีเทคโนโลยีการมองเห็นขั้นสูง ที่ช่วยให้แยกแยะขนาด รูปร่าง และสีต่าง ๆ ได้ หุ่นยนต์เดลต้ามีหลายรูปแบบ แต่ส่วนใหญ่มีสามแขนที่ทำงานบนสี่แกน มีมอเตอร์หนักติดอยู่กับเฟรม โดยมีแขนน้ำหนักเบาเชื่อมต่อกับแท่งเชื่อมโยงที่มีข้อต่อที่ปลายทั้งสองข้างของแขนแต่ละข้าง (โดยทั่วไปคือลูกหมาก) เพื่อให้เคลื่อนไหวได้ครับ
  • หุ่นยนต์ร่วมปฏิบัติงาน หรือ Collaborative Robots (พระเอกของเราครับ) ช่วยเสริมการทำงานระหว่างมนุษย์และหุ่นยนต์ ด้วยความยืดหยุ่นของการใช้งาน ทำให้ใช้งานได้หยิบจับและวางได้หลากหลายรูปแบบ

หุ่นยนต์แต่ละแบบสามารถทำงานหยิบจับและวางได้ เพียงแต่มีข้อแตกต่างกันไป ทั้งในเรื่องของจำนวนแกน น้ำหนัก ความเร็ว ระยะเอื้อม การติดตั้ง การโปรแกรม และอีกมากมาย แต่หุ่นยนต์ที่เราจะกล่าวถึงในเนื้อหาจากนี้ไป นั่นคือหุ่นยนต์ร่วมปฏิบัติงานหรือโคบอทครับ

ไม่ใช่เพราะลำเอียงหรืออะไรนะครับ แต่เป็นเพราะเราได้นำหุ่นยนต์ร่วมปฏิบัติงานไปใช้ในงานหยิบจับและวางให้กับลูกค้าหลายราย ในอุตสาหกรรมที่แตกต่างกันมานับไม่ถ้วนแล้วครับ

หุ่นยนต์ร่วมปฏิบัติงานหยิบจับและวางชิ้นงาน เหมาะกับงานแบบไหนบ้าง

โดยส่วนใหญ่แล้ว มักใช้ในการผลิตครับ แต่เนื่องจากความยืดหยุ่นในการใช้งาน ทำให้ถูกนำไปใช้งานที่หลากหลาย เช่น งานบรรจุหีบห่อ งานตรวจสอบ ต่อไปนี้คือตัวอย่างการใช้งาน และวิธีการใช้งานครับ

  • งานประกอบ – หุ่นยนต์ร่วมปฏิบัติงานหยิบจับและวางที่ใช้ในงานประกอบ จะจับชิ้นส่วนที่เข้ามาจากที่หนึ่ง เช่น สายพานลำเลียง แล้ววางหรือติดชิ้นส่วนบนอีกชิ้นหนึ่ง ชิ้นส่วนที่ต่อกันทั้งสองส่วนจะถูกส่งไปยังพื้นที่ประกอบถัดไป
  • งานบรรจุภัณฑ์ – หุ่นยนต์ร่วมปฏิบัติงานหยิบจับและวางที่ใช้ในกระบวนการบรรจุภัณฑ์ จะหยิบจับสิ่งของจากพื้นที่ที่กำหนด แล้ววางสิ่งนั้นลงในกล่องหรือภาชนะบรรจุภัณฑ์
  • งานตรวจสอบ – หุ่นยนต์ร่วมปฏิบัติงานหยิบจับและวางที่ใช้สำหรับการตรวจสอบ จะได้รับการติดตั้งกล้องหรือเซนเซอร์ที่ช่วยในการมองเห็นหรือตรวจสอบ เพื่อหยิบวัตถุ ตรวจจับสิ่งผิดปกติหรือไม่ผิดปกติ ก่อนจะนำชิ้นส่วนนั้นไปวางยังจุดที่กำหนดไว้

เราขอบอกว่า คุณไม่จำเป็นต้องเลือกประเภทงานเพียงแค่หนึ่งอย่างนะครับ ถ้าออกแบบโซลูชั่นดี ๆ หุ่นยนต์ร่วมปฏิบัติงานสามารถเคลื่อนไหวและทำงานได้มากกว่า 1 อย่างในเวลาเดียวกันครับ เช่น ถ้าใน 1 รอบของการทำงานคือ หยิบชิ้นส่วน-ตรวจสอบ-ประกอบ การทำงานก็จะเป็นแบบวิดีโอด้านล่างนี้ครับ

ประโยชน์ 5 ข้อของหุ่นยนต์ร่วมปฏิบัติงานหยิบจับและวางชิ้นงาน

หุ่นยนต์ร่วมปฏิบัติงานหยิบจับและวาง มีประโยชน์และข้อได้เปรียบที่สำคัญบางข้อ เมื่อเปรียบเทียบกับการหยิบและวางด้วยมือมนุษย์ดังนี้ครับ

  1. ปริมาณงาน ประโยชน์ที่ชัดเจนที่สุดคือปริมาณงานที่เพิ่มขึ้น หุ่นยนต์จะสามารถหยิบจับและวางวัตถุได้อย่างสม่ำเสมอมากกว่าผู้ปฏิบัติงานที่เป็นมนุษย์ และสามารถทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมงเพื่อเพิ่มปริมาณงานให้มากขึ้น
  2. ความสม่ำเสมอ หุ่นยนต์ร่วมปฏิบัติงานหยิบจับและวางมีความสม่ำเสมอมากกว่ามนุษย์ เมื่อต้องทำงานในระยะเวลาติดต่อกันเป็นนาน ๆ
  3. ความเร็ว แม้งานในบางประเภท หุ่นยนต์ร่วมปฏิบัติงานหยิบจับและวางจะทำงานช้ากว่ามนุษย์ แต่ความเร็วในการเคลื่อนไหวของมนุษย์ แปรฝันแบบตรงกันข้ามกับเวลาในการทำงาน หมายถึงความเร็วของมนุษย์จะตกลงเมื่อทำงานนาน ๆ ครับ ส่วนความเร็วของหุ่นยนต์เป็นความเร็วแบบคงที่ สม่ำเสมอ ไม่ว่าจะทำงานต่อเนื่องยาวนานขนาดไหนก็ตาม
  4. ความปลอดภัย ในการเคลื่อนย้ายสิ่งของหนัก ๆ หรือมีความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ การใช้หุ่นยนต์ร่วมปฏิบัติงานหยิบจับและวาง จะปลอดภัยกว่าการให้มนุษย์ทำเองนะครับ เพราะการเคลื่อนไหวซ้ำ ๆ และการยกของหนัก ๆ เป็นเวลานานย่อมส่งผลกระทบต่อสุขภาพ เช่น ปัญหากล้ามเนื้อและกระดูก
  5. ผลตอบแทนจากการลงทุน หุ่นยนต์ร่วมปฏิบัติงานหยิบจับและวาง จะช่วยให้คุณบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจด้วยต้นทุนที่ต่ำที่สุด และนี่เป็นสิ่งสำคัญมากครับ เพราะถ้าคุณสามารถควบคุมหรือลดต้นทุนโดยไม่สูญเสียคุณภาพงานได้ คุณก็ยิ่งเพิ่มความได้เปรียบทางการแข่งขันมากขึ้นไปอีก ผลตอบแทนจากการลงทุนก็สูงขึ้นตามครับ

วิธีการเลือกหุ่นยนต์ร่วมปฏิบัติงานหยิบจับและวางชิ้นงานให้เหมาะสม

ด้วยรูปร่างของดีไซน์และคุณสมบัติของแต่ละแบรนด์ที่หลากหลายในตลาด การเลือกหุ่นยนต์ร่วมปฏิบัติงานที่เหมาะสมกับความต้องการในงานของคุณอาจเป็นเรื่องยาก

เพื่อช่วยให้คุณตัดสินใจได้ถูกต้อง นี่คือปัจจัยและคุณสมบัติบางอย่างที่คุณต้องพิจารณาเมื่อตัดสินใจจะซื้อหุ่นยนต์ร่วมปฏิบัติงานหยิบจับและวางครับ

จำนวนแกน (Axes)

จำนวนแกน เป็นสิ่งที่กำหนดระดับความอิสระ (Degree of Freedom) และการเคลื่อนไหวของหุ่นยนต์ร่วมปฏิบัติงานหยิบจับและวาง

โดยทั่วไป แกนที่มากขึ้นหมายถึงการเคลื่อนไหวและความยืดหยุ่นที่มากขึ้น ดังนั้นการมีแกนเยอะ ย่อมดีกว่าแกนน้อย แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความคิดสร้างสรรค์ของผู้ให้บริการด้วยเช่นกันนะครับ ว่าภายใต้เงื่อนไขบางอย่าง ผู้ให้บริการนั้นสามารถออกแบบการใช้งานได้มีประสิทธิผลขนาดไหน

ระยะเอื้อม (Reach)

Reach เป็นค่าที่อธิบายระยะทางสูงสุด (ทั้งแนวนอนและแนวตั้ง) ที่หุ่นยนต์ร่วมปฏิบัติงานหยิบจับและวางสามารถจัดการสิ่งของได้ เนื่องจากหุ่นยนต์ต้องหยิบจับและวางสิ่งของด้วยความแม่นยำสูง คุณจึงควรประเมินระยะเอื้อม เพื่อพิจารณาว่าเหมาะสำหรับการปฏิบัติงานของคุณหรือไม่

ระยะแนวนอนสูงสุด คือระยะห่างจากศูนย์กลางของฐานหุ่นยนต์ถึงจุดที่ไกลที่สุดของกริปเปอร์หรือเครื่องมือปลายแขน ส่วนระยะแนวตั้งสูงสุด วัดจากจุดต่ำสุดที่หุ่นยนต์สามารถเข้าถึงได้ (โดยปกติคือฐาน) จนถึงความสูงที่สูงสุดที่ข้อมือเอื้อมถึง

ความสามารถในการทำซ้ำ (Repeatability)

ความสามารถในการทำซ้ำ อธิบายถึงความสามารถของหุ่นยนต์ในการหยิบจับและวางชิ้นงาน ที่ตำแหน่งเดียวกันเสมอในการทำงานอย่างหนึ่ง งานประเภทที่ต้องการความแม่นยำสูง (เช่น การสร้างแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์) ต้องใช้หุ่นยนต์ที่มีความสามารถในการทำซ้ำได้ดีเยี่ยม มีความคลาดเคลื่อนแทบจะเป็นศูนย์เลยทีเดียวครับ

ความเร็ว (Speed)

ในการปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผล คุณสมบัติอย่างหนึ่งที่หุ่นยนต์ร่วมปฏิบัติงานหยิบจับและวางต้องมี คือความเร็วอย่างสม่ำเสมอในการปฏิบัติงาน

สเปคข้อมูลของหุ่นยนต์ร่วมปฏิบัติงานมักจะระบุความเร็ว (เป็นองศาต่อวินาที) ตั้งแต่ 0 ถึงความเร็วสูงสุด คุณควรตรวจสอบให้แน่ใจ ว่าหุ่นยนต์สามารถดำเนินการได้ตามความเร็วที่คุณต้องการ (หรือสูงกว่าก็ดีครับ)

นอกจากนี้ คุณควรคาดการณ์ถึงความเป็นไปได้ของปริมาณชิ้นงานที่ต้องทำเพิ่มขึ้น ถ้าความต้องการต่อสินค้าของคุณเพิ่มขึ้นในอนาคตด้วยครับ

น้ำหนักบรรทุก (Payload)

น้ำหนักบรรทุก คือน้ำหนักสูงสุดที่หุ่นยนต์สามารถหยิบจับชิ้นส่วนจากจุดหนึ่งไปวางยังอีกจุดหนึ่งได้ ซึ่งนับรวมถึงน้ำหนักของชิ้นงานที่ถูกหยิบจับ และน้ำหนักของเครื่องมือปลายแขนหุ่นยนต์ด้วย

หุ่นยนต์ร่วมปฏิบัติงานหยิบจับและวาง ต้องสามารถยกชิ้นงานที่หนักที่สุดในงานของคุณ ยืดแขนออกไปจนสุด แล้ววางชิ้นงานดังกล่าวได้อย่างแม่นยำ

โปรแกรมการใช้งาน (Program)

ความง่ายนั้นสำคัญต่อผลผลิตนะครับ ยิ่งเรียบง่าย แต่ได้ประสิทธิผลสูงยิ่งดี โดยเฉพาะเรื่องการใช้โปรแกรม

หุ่นยนต์ร่วมปฏิบัติงานที่ดี ต้องมีโปรแกรมการใช้งานที่ไม่ซับซ้อนจนผู้ใช้งาน ใช้งานไม่ได้ครับ

แล้วต้องไม่ซับซ้อนขนาดไหนล่ะ? ต้องเรียบง่ายขนาดไหนล่ะ? ก็ง่ายขนาดที่ผู้ใช้งานที่ไม่ได้เรียนด้านโปรแกรมมิ่งก็ใช้งานได้ยังไงล่ะครับ

Dobot MG400 หุ่นยนต์ร่วมปฏิบัติงาน ที่ช่วยงานหยิบจับและวางได้เนียนกริบ

Dobot MG400 เป็นหุ่นยนต์ร่วมปฏิบัติงานแบบ “ตั้งโต๊ะ” ได้ ด้วยขนาดที่เล็กกว่ากระดาษ A4 หนึ่งแผ่น จึงทำให้มีน้ำหนักเบา ถูกออกแบบเป็นพิเศษให้มีความยืดหยุ่นในการปรับใช้งาน ใช้ง่าย ปลอดภัย

ในสถานการณ์การทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์และหุ่นยนต์แขนกล Dobot MG400 เป็นหุ่นยนต์แบบระบบอัตโนมัติที่มีราคาที่คุณสามารถคืนทุนได้เร็ว สามารถใช้ได้กับสถานการณ์การผลิตที่มีความหลากหลาย ยิบย่อย รองรับน้ำหนักบรรทุกสูงสุดได้ถึง 750 กรัม ระยะเอื้อมสูงสุด 440 มิลลิเมตร

มาพร้อมฟังก์ชั่นการบันทึกตำแหน่งด้วยมือ (Hand Guidance) และการตรวจจับการชนกัน (Collision Detection) จึงทำให้ Dobot MG400 เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการใช้งานในอุตสาหกรรมแบบตั้งโต๊ะน้ำหนักเบา ที่ต้องการการปรับใช้ และมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว แต่ต้องการความปลอดภัยครับ

Dobot MG400 หุ่นยนต์หยิบจับและวางชิ้นงานขนาดตั้งโต๊ะ

การติดตั้งบนพื้นที่ขนาดเล็ก

ด้วยขนาดเพียง 190 มิลลิเมตร x 190 มิลลิเมตร ทำให้ Dobot MG400 มีขนาดกะทัดรัดที่จะผสมผสานในทุกสภาพแวดล้อมการผลิต พื้นที่ไหนก็แล้วแต่ ที่มีขนาดเล็กกว่ากระดาษ A4 หนึ่งแผ่น Dobot MG400 ก็ทำงานได้แล้วครับ

จิ๋วแต่แจ๋ว กับประสิทธิภาพระดับมืออาชีพ

Dobot MG400 มาพร้อมกับเซอร์โวมอเตอร์ที่มีตัวเข้ารหัสสัมบูรณ์ที่มีความแม่นยำสูง ใช้ร่วมกับเซอร์โวไดรฟ์ และคอนโทรลเลอร์ที่พัฒนาขึ้นเอง

ด้วยอัลกอริทึมลดแรงสั่นสะเทือนในคอนโทรลเลอร์ และความแม่นยำในวิถีการเคลื่อนที่ของการเคลื่อนที่แบบหลายแกน ช่วยให้แบนด์วิดท์ของเวลาในการรักษาเสถียรภาพของความสามารถในการทำซ้ำเพิ่มขึ้น ถึง 60% และการสั่นสะเทือนตกค้างถึง 70%

ความเรียบง่าย ที่ส่งผลต่อผลผลิต

“ความเรียบง่าย” ถูกรวมอยู่ในทุกขั้นตอนการออกแบบของ Dobot MG400 ทำให้ SMEs นำระบบอัตโนมัติไปใช้ได้ง่ายขึ้น

นำไปใช้งานได้เร็ว

ด้วยการออกแบบที่มีการประสานกลมกลืน ทำให้มีขนาดที่กะทัดรัด ยืดหยุ่น และง่ายต่อการปรับใช้ แค่เสียบปลั๊ก ก็เริ่มใช้งานได้เลย

มีตัวเลือกสำหรับโปรแกรมมากขึ้น

ด้วยการเขียนโปรแกรมกราฟิก และการเขียนโปรแกรมสคริปต์ Lua ซึ่งเหมาะสำหรับการใช้งานที่มีความซับซ้อนแตกต่างกัน และนักพัฒนาที่มีทักษะการเขียนโปรแกรมต่างกัน

มีอินเทอร์เฟซการเขียนโปรแกรมที่ใช้งานง่าย และการออกแบบที่มีตัวช่วยแบบ Interactive ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานอย่างมาก รวมถึงลดความยุ่งยากและอุปสรรคในการใช้งานหุ่นยนต์ครับ

ประสิทธิภาพการดีบักที่สูงขึ้น

รองรับโดยอัลกอริทึมการชดเชยแรงโน้มถ่วงแบบไดนามิก จึงทำให้ Dobot MG400 ช่วยให้ผู้ใช้สามารถลาก และขยับแขนของหุ่นยนต์ เพื่อสอนเส้นทางของการเคลื่อนไหวได้

เพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบอัตโนมัติ

แทนที่จะใช้มนุษย์ในงานที่มีขั้นตอนซ้ำซาก และเป็นงานทั่ว ๆ ไป การนำ Dobot MG400 มาเป็นส่วนหนึ่งของงาน จะช่วยให้การทำงานร่วมกันของมนุษย์กับหุ่นยนต์เป็นไปได้ง่ายยิ่งขึ้น ช่วยให้ธุรกิจของคุณสามารถลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพ และเพิ่มคุณภาพของงานได้ในเวลาเดียวกันครับ

คุณสามารถศึกษารายละเอียดและสเปคเพิ่มเติมของ Dobot MG400 เพิ่มเติมได้ครับ

หากชิ้นส่วนในงานหยิบจับและวางของคุณ มีน้ำหนักมากกว่า 750 กรัม เราขอแนะนำหุ่นยนต์ร่วมปฏิบัติอีกหนึ่งรุ่นนั่นคือ Dobot CR Series แต่ด้วยข้อมูลและสเปคของหุ่นยนต์แขนกลรุ่นนี้ มีรายละเอียดที่มากกว่าและซับซ้อนกว่า เราจึงขอละไว้สำหรับบทความถัดไปนะครับ

พร้อมมั้ยครับ? ที่คุณจะเพิ่มผลตอบแทนในระยะยาว ด้วยการลงทุนในสิ่งที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เร่งศักยภาพในการผลิต ด้วยการนำหุ่นยนต์ร่วมปฏิบัติงานมาช่วยในงานด้านหยิบจับและวางของธุรกิจคุณ?

ไม่ต้องกังวลนะครับว่างานจะซับซ้อนเกินไปมั้ย ยุ่งยากหรือแพงเกินไปหรือเปล่า เพราะ Techy Mechatronics & Supply พร้อมที่ช่วยคุณออกแบบการใช้งานให้คุ้มค่าที่สุด ลดความยุ่งยาก เพิ่มความเรียบง่ายในการเริ่มต้นใช้ระบบอัตโนมัติกับงานหยิบจับและวางด้วย Dobot MG400 ในราคาที่คุณรู้แล้วพูดในใจเลยว่า​ “รู้งี้ซื้อไปใช้ตั้งนานแล้ว”

ถ้าคุณยังไม่เคยรู้จักเรามาก่อน เราคือผู้ให้บริการโซลูชั่นเครื่องจักรอัตโนมัติแบบครบวงจร และตัวแทนจำหน่ายหุ่นยนต์แขนกลโคบอท Dobot อย่างเป็นทางการ

พูดคุยหรือปรึกษาเราเพิ่มเติมได้ที่ Line: @techy นะครับ

เพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพของการผลิตด้วยระบบอัตโนมัติ
ลดต้นทุน เพิ่มกำไรให้กับธุรกิจของคุณ

Hotline

+6682-114-5677

Line

@techy

Office

+662-101-4653

เพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพของการผลิตด้วยระบบอัตโนมัติ
ลดต้นทุน เพิ่มกำไรให้กับธุรกิจของคุณ

Hotline

+6682-114-5677

Line

@techy

Office

+662-101-4653

Privacy Preferences

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save