คนกับหุ่นยนต์ต่างกันยังไง?
ระหว่างคนกับหุ่นยนต์ อะไรมีผลิตภาพ (Productivity) มากกว่ากัน?
เนื้อหาในตอนนี้เราเปิดด้วยคำถามที่มักถูกถกเถียงกันบ่อย ๆ ในวิทยาการหุ่นยนต์ คำถามที่ “คำตอบ” อาจไม่ได้ถูกเสมอไป และไม่มีผิดเสมอไปเช่นกันครับ
เมื่อคุณนึกถึงหุ่นยนต์สำหรับการผลิต คุณอาจมีภาพของหุ่นยนต์ในใจ เช่น หุ่นยนต์เดลต้าที่เร็วสุด ๆ ที่ทำการหยิบและวางชิ้นงานบนสายพานลำเลียงของโรงงาน หรือหุ่นยนต์เชื่อมที่รวดเร็วและแม่นยำสูงในโรงงานผลิตรถยนต์
ภาพเหล่านั้น แค่คิดก็ตอบได้ว่าหุ่นยนต์ที่มีความเร็วดังกล่าว จะเพิ่มประสิทธิภาพของงานเหล่านั้นได้
แต่ประสิทธิภาพการทำงานของหุ่นยนต์ไม่ได้เป็นแบบนั้นเสมอไป ความเร็วของหุ่นยนต์ไม่ได้หมายความว่าผลิตภาพจะมากขึ้นตามนะครับ
หุ่นยนต์ร่วมปฏิบัติงาน หรือโคบอท เป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับเคสนี้นะครับ เพราะโดยปกติแล้วโคบอทจะเคลื่อนที่ช้ากว่าหุ่นยนต์อุตสาหกรรมทั่วไป และเคลื่อนที่ได้ช้ากว่าคนงานที่เป็นมนุษย์ด้วยซ้ำ (ในบางลักษณะงานนะครับ)
แล้วความเร็วที่ช้าของโคบอทหมายความว่าโคบอทมีประสิทธิภาพมากกว่าหรือเปล่า…ก็ไม่เสมอไปนะครับ
แล้วคำจำกัดความของผลิตภาพของหุ่นยนต์คืออะไร
ผลิตภาพของหุ่นยนต์หมายถึงอัตราส่วนของ Input ต่อ Output ในการผลิตที่หุ่นยนต์สามารถทำได้ เช่นเดียวกับผลิตภาพของการผลิต ที่ต้องมีการวัดประสิทธิภาพครับ
แล้วจะวัดอย่างไร? ถ้าเอาความเร็วเป็นหลัก ก็อาจจะวัดผลออกมาได้ดีนะครับ แต่การที่หุ่นยนต์ทำงานเร็วขึ้นไม่ได้หมายความว่ากระบวนการผลิตทั้งหมดของคุณจะต้องมีผลิตภาพมากขึ้นตามนะครับ
หุ่นยนต์สามารถเป็นเครื่องมือสำคัญในการเพิ่มผลิตภาพการผลิตของคุณ แต่ผลลัพธ์ที่ดีจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อคุณใช้หุ่นยนต์ในงานที่เป็นคอขวด แบบนี้ล่ะครับที่ช่วยยกระดับผลิตภาพในกระบวนการผลิตทั้งหมด
คนกับหุ่นยนต์ต่างกันยังไง?
คุณจำได้มั้ยครับว่า คุณมีความรู้สึกอย่างไรในตอนที่คุณเห็นโคบอททำงานเป็นครั้งแรก เราเดาว่าหนึ่งในนั้นคงเป็น “ทำไมมันเคลื่อนที่ช้าจัง?”
คุณอาจจะเคยเห็นความเร็วของหุ่นยนต์ในระบบอัตโนมัติประเภทอื่น หรือความเร็วของคนงานที่เป็นมนุษย์ ก็เลยเกิดการเปรียบเทียบ เลยทำให้นึกภาพตามได้ยากว่าโคบอทที่เคลื่อนไหวช้าแบบนี้ จะช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานได้อย่างไร
ลองมาดูผลิตภาพของคน VS ผลิตภาพของหุ่นยนต์กันนะครับ กับวางกล่องซ้อนบนพาเลทไม้
โคบอททำงานอย่างไร
ลองนึกภาพโคบอททำงานกันนะครับ
กล่องถูกป้อนมาบนสายพานลำเลียงไปยังหุ่นยนต์ แต่กล่องถูกลำเลียงมาในระยะและช่วงเวลาที่ไม่เท่ากันเนื่องจากกล่องถูกวางบนสายพานด้วยคนงานที่เป็นมนุษย์ในสเต็ปก่อนหน้านี้
โคบอทก็รอ ร๊อ รอ เพื่อทำหน้าที่ตามที่โปรแกรมไว้เมื่อกล่องมาถึง แล้วพอกล่องมาถึง โคบอทจะทำการสแกนฉลากบนกล่อง (ถ้าติดตั้งเครื่องมือช่วยในการมองเห็นนะครับ) หากฉลากเป็นสีแดง โคบอทจะวางบนพาเลทด้านซ้ายทันที หากฉลากเป็นสีเขียว โคบอทจะวางบนพาเลทด้านขวา
ทำงานแบบนี้ไปเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่องโดยไม่หยุดพัก
แล้วคนทำงานอย่างไร
ในกรณีนี้ พนักงานที่เป็นมนุษย์จะได้รับมอบหมายให้จัดเรียงกล่องบนพาเลท ถ้าใช้สถานการณ์เดียวกับกับโคบอท (กล่องถูกลำเลียงมาในระยะและช่วงเวลาที่ไม่เท่ากัน) และพนักงานคนนี้ต้องตรวจสอบสีของฉลากของแต่ละกล่องด้วยตนเอง
พวกเขาต้องวางกล่องบนพาเลทให้ถูกต้อง ซึ่งขึ้นอยู่กับสีของฉลาก สมมติว่าพนักงานคนนี้ทำงานเร็วเกินไป จนทำให้วางกล่องบทพาเลทสลับกัน ไม่แม่นยำเหมือนที่โคบอททำ
ผลลัพธ์ที่ได้คือ การจัดวางบนพาเลทสลับกันมั่วไปหมด จนทำให้ต้องตรวจสอบกันใหม่ จัดเรียงกันใหม่
ในตัวอย่างด้านบนนี้ คุณคิดว่าแบบไหนที่มีมากกว่าสำหรับคุณครับ
เมื่อไหร่ที่โคบอทจะเพิ่มผลิตภาพในการผลิตหรือในโรงงานได้
ดังที่คุณเห็นในตัวอย่างข้างต้น ความเร็วในการทำงานไม่ใช่มิติเดียวของผลิตภาพ ความสม่ำเสมอก็มีผลกระทบอย่างมากต่อประสิทธิภาพของงานครับ
โคบอทจะเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้ ก็ต่อเมื่อใช้กับงานที่มนุษย์ต้องทำงานอย่างยากลำบากครับ
ในตัวอย่าง การจัดวางบนพาเลทไม่ใช่งานที่เหมาะสมสำหรับคนงานที่เป็นมนุษย์ เพื่อให้ได้การจัดเรียงกล่องที่มีประสิทธิภาพ คุณต้องทำงานอย่างต่อเนื่องในอัตราที่สม่ำเสมอและแม่นยำ โคบอทมีความสม่ำเสมอเสมอ แต่มนุษย์ไม่เป็นเช่นนั้นครับ
ในฐานะมนุษย์ เราเก่งในงานด้านความรู้ ความเข้าใจ แต่งานที่ต้องทำซ้ำ ๆ กัน เราไม่สามารถทำได้ดีตลอดอย่างสม่ำเสมอในระยะเวลานาน ๆ ครับ
เมื่อคุณนำโคบอทไปใช้กับงานที่เป็นคอขวดซึ่งไม่ใช่งานที่ดีสำหรับมนุษย์อยู่แล้ว นั่นแหละครับคือการปรับปรุงผลิตภาพการทำงานที่ดีที่สุด
เมื่อคุณเข้าใจจุดแข็งของทั้งโคบอทและพนักงานที่เป็นมนุษย์ คุณจะสามารถเพิ่มผลิตภาพโดยรวมในธุรกิจของคุณให้สูงสุดได้ รวมทั้งทำให้พนักงานของคุณมีความสุขมากขึ้นในการทำงานด้วยครับ
แล้วลักษณะงานประเภทไหนบ้างที่คนทำได้ดีกว่าโคบอท?
แล้วลักษณะงานประเภทไหนบ้างที่โคบอททำได้ดีกว่าคน?
นี่คือการเปรียบเทียบลักษณะงานครับ
งานที่โคบอททำได้ดีกว่าคน
- งานที่ต้องซำ้ ๆ ซาก ๆ เป็นระยะเวลานาน
- งานที่ต้องใช้การตัดสินใจเพียงเล็กน้อยหรือไม่ต้องเลย
- งานที่ถูกวางไว้อย่างชัดเจนว่าต้องทำอย่างไร
- งานที่ไม่ต้องใช้ความรู้ที่เกี่ยวกับงาน
- งานที่ต้องใช้กำลัง
งานที่คนทำได้ดีกว่าโคบอท
- งานที่มีความหลากหลาย ยืดหยุ่นมาก
- งานที่ต้องใช้ปัญญา พร้อมต้องตัดสินใจอยู่บ่อย ๆ
- งานที่คาดเดาไม่ได้ และทำให้เราต้องตื่นตัวตลอด
- งานที่ต้องใช้ความรู้ และประสบการณ์ของเรา
- งานที่ใช้กำลังร่างกาย แต่ต้องไม่หนักจนเกิดอาการบาดเจ็บ
เห็นได้ชัดว่างานที่เหมาะสมกับมนุษย์อย่างเรา ค่อนข้างแตกต่างจากโคบอทครับ อีกอย่างหนึ่งก็คือการที่มนุษย์อย่างเราเก่งในงานที่ใช้ปัญญา แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะเก่งเฉพาะงานที่ต้องนั่งหน้าคอมพิวเตอร์ทั้งวันนะครับ
สรุป
คนดีกว่าหุ่นยนต์มั้ย
หรือหุ่นยนต์ดีกว่าคนกันแน่
ถึงตรงนี้เราหวังว่าคุณคงได้คำตอบ พร้อมกับรู้แล้วว่าตรงไหนของกระบวนการผลิตในธุรกิจของคุณที่มีปัญหาแบบคอขวด แล้วโคบอทจะช่วยแก้ปัญหาได้หรือเปล่า
หากยังไม่แน่ใจ และต้องการหาคำตอบ มาพูดคุยหรือปรึกษาเราเพิ่มเติมได้ที่ Line: @techy นะครับ
เพราะเราคือผู้ให้บริการโซลูชั่นเครื่องจักรอัตโนมัติแบบครบวงจร และตัวแทนจำหน่ายหุ่นยนต์แขนกลโคบอท Dobot อย่างเป็นทางการครับ